ขนาดตัวอักษร
ภาษา

คำถามที่ถูกถามบ่อย

บัญชีข้อมูล (Data Catalog) คือ

เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน 

ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance for Government) คือ

การกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารจัดการข้อมูลทุกขั้นตอน เพื่อให้การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนตัวและสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย 

หมวดหมู่ของข้อมูล (Data Category)

ตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐแบ่งออกได้เป็น ๔ หมวดหมู่ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลความมั่นคง ข้อมูลความลับทางราชการ และ ข้อมูลสาธารณะ 

Opendata มีจำนวนเท่าไร กี่ชุดหมวดหมู่

กรอบการวิจัย โครงการวิจัย บุคลากรการวิจัย ผลงานวิจัย มาตรฐานการวิจัยดัชนีวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม รางวัลการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติ การส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม

CKAN คือ

ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ชนิด Open Source ที่ถูกพัฒนาโดย Open Knowledge Foundation. CKAN ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ให้บริการเว็บไซต์ Data Catalog สำหรับข้อมูลเปิด (open data) ซึ่ง วช. ใช้ CKAN ในการพัฒนา Data Catalog

ความเป็นปัจจุบัน คือ

ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันสมัยเพียงพอต่อการใช้งาน และพร้อมใช้งานตามที่กำหนดและในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ หรือมีข้อมูลทันต่อการใช้งานทุกครั้งตามที่ผู้ใช้ต้องการ

ข้อมูลเปิดภาครัฐ คือ

ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างเสรี ไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ไม่เสียค่าใช้จ่าย เผยแพร่ ทำซ้ำ หรือใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์” หรือสรุปได้ว่า คือ ข้อมูลภาครัฐที่ผ่านกระบวนการจัดลำดับชั้นความลับของข้อมูลแล้วว่าเป็น “ข้อมูลสาธารณะ” ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน วิเคราะห์ หรือดัดแปลงได้ตามความต้องการ

ข้อมูลสาธารณะ คือ

ข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 

คุณลักษณะแบบเปิด คือ

คุณลักษณะของไฟล์ที่ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขต่างๆ จากเจ้าของผลิตภัณฑ์ สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใช้งานหรือประมวลผลได้หลากหลายซอฟแวร์

ชุดข้อมูล (Dataset) คือ

การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล หรือจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล 

ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) คือ

เป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลเปิด ภาครัฐของประเทศที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา โดยข้อมูลที่เผยแพร่อยู่ในรูปแบบไฟล์ที่สามารถแสดงตัวอย่างข้อมูล (Preview) การแสดงข้อมูล ด้วยภาพ (Visualization) และเอพีไอ (API) แบบอัตโนมัติให้กับชุดข้อมูลที่เผยแพร่ได้รวมทั้ง ยังสามารถจัดการชุดข้อมูลและเมทาดาตาของข้อมูลได

ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange Center ) คือ

เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเอกสารทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและภาคเอกชนเมื่อใช้บริการจากภาครัฐ ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล

ประเภทชุดข้อมูล คือ

1. ข้อมูลระเบียน (Record) ที่จากระบบฐานข้อมูลทะเบียนหรือจากการ

บริหารงานของหน่วยงาน และที่ได้จากการสำมะโน/สำรวจด้วยตัวอย่างรวมทั้ง Transaction Data

ตัวอย่างเช่น รายการจดทะเบียนธุรกิจ และ รายการจดทะเบียนสรรพสามิตเป็นต้น

2. ข้อมูลสถิติ ข้อความหรือตัวเลขที่แสดงผลที่ ประมวลจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้

3. ข้อมูลสารสนเทศเชิงพื้นที่ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์ กับตำแหน่งในพื้นที่ เช่น แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายทาง

4. ข้อมูลหลากหลายประเภท ชุดข้อมูลที่รวบรวมมาจากข้อมูล หลากหลายประเภทมาจัดเป็นชุดข้อมูล ตามความต้องการใช้งาน เช่น ชุดข้อมูล ที่ประกอบด้วยข้อมูลระเบียน ข้อมูล สถิติข้อมูลภาพ เป็นต้น

5. ข้อมูลประเภทอื่นๆ ข้อมูลนอกเหนือจาก 4 ประเภทข้างต้น

ประโยชน์ของบัญชีข้อมูล คือ

1. สามารถค้นหา เข้าถึง และใช้งานข้อมูลที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว

2. ช่วยลดระยะเวลาในการศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ (Data & Analytics)

3. ช่วยจัดชุดข้อมูลตามความต้องการได้และร้องขอข้อมูล ที่ยังไม่มีผู้จัดทำได้

4. สนับสนุนให้เกิดเกิดธรรมาภิบาลข้อมูลให้ข้อมูลมีคุณภาพ

5. ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลมีความเชื่อมั่นในข้อมูล

คำอธิบายข้อมูล (Metadata) คือ

รายละเอียดคำอธิบายชุดข้อมูลส่วนหลัก ตามมาตรฐาน สพร. กำหนดที่ทุกชุดข้อมูลจำเป็นต้องมี โดย 1 ชุดข้อมูล ประกอบด้วยคำอธิบายข้อมูลจำนวน 14 รายการ ได้แก่ ประเภทข้อมูล ชื่อชุดข้อมูล องค์กร ชื่อผู้ติดต่อ อีเมล ผู้ติดต่อ คำสำคัญ รายละเอียด วัตถุประสงค์ หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ แหล่งที่มา รูปแบบในการเก็บข้อมูล หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และสัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล

ทรัพยากรข้อมูล คือ

ไฟล์ข้อมูลและแหล่งที่เก็บข้อมูลหลักหรือแหล่งข้อมูลต้นทางของกระบวนงานซึ่งอาจเข้าถึงเป็นแบบ API หรือไฟล์ข้อมูลก็ได้ขึ้นอยู่กับกระบวนงานนั้นเป็นกระบวนงานดิจิทัลที่สมบูรณ์ดีพอหรือไม่ ซึ่งใน 1 ชุดข้อมูล อาจประกอบด้วย ไฟล์ข้อมูล CSV ไฟล์เดียว หรือ ไฟล์ข้อมูล CSV หลายไฟล์ก็ได้

พจนานุกรมข้อมูล คือ

ส่วนหนึ่งของเมทาดาตาที่มีหน้าที่อธิบายข้อมูลภายในชุดข้อมูลอย่างละเอียดเป็นรายตัวแปร (Attribute) เพื่อสนับสนุนให้ ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลสามารถเข้าใจชุดข้อมูลในระดับตัวแปร มีประโยชน์ในการตัดสินใจว่าชุดข้อมูลนั้นมีข้อมูลตามที่ผู้ต้องการใช้กำลังค้นหาอยู่หรือไม่ โดยมีส่วนที่บังคับต้องทำการอธิบายข้อมูลรายตัวแปร 3 รายการ ได้แก่ ชื่อตัวแปรข้อมูล ชนิดของตัวแปรข้อมูล และคำอธิบายตัวแปรข้อมูล

ประโยชน์ ธรรมาภิบาล คือ

เพื่อบริหารจัดการหรือกำกับดูแลข้อมูลของหน่วยงานอย่างถูกต้องเหมาะสมช่วยให้หน่วยงานสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพ รวมทั้งสอดคล้องกับระเบียบ กฎหมายส่งผลที่ดีต้องการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ

แพลตฟอร์ม (Platform) คือ

รูปแบบและช่องทางการให้บริการที่ทำหน้าเป็นฐานบริการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน

Open-D Platform คือ

สำหรับให้บริการข้อมูลเปิดในรูปแบบ API และ Visualization ที่พร้อมใช้ ผนวกกับว่าในยุคนี้แต่ละหน่วยงานมีความต้องการที่จะเปิดเผยข้อมูลในหน่วยงานของตัวเองเพื่อแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานอื่นมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนา Open-D เพื่อตอบโจทย์แต่ละหน่วยงาน

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ

ข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล ที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ข้อมูลการศึกษา ฐานะทางการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ลายนิ้วมือ เป็นต้น

NRCT ChatBot
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลเปิดสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ